โลกกำลังเข้าสู่ "ยุคแห่งไฟฟ้า" ที่นำโดยพลังงานแสงอาทิตย์
รายงานฉบับใหม่ของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ระบุว่าการผลิตพลังงานหมุนเวียนกำลังขยายตัวในอัตราที่ไม่เคยมีมาก่อน นำโดยพลังงานแสงอาทิตย์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ความต้องการพลังงานที่ไม่มีวันสิ้นสุดของโลก คือปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้การผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอุตสาหกรรมด้านพลังงานก็ยังคงเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ รายงานประจำปีของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ที่เผยแพร่วันที่ 16 ต.ค. พบว่าโลกยังคงมุ่งหน้าสู่จุดสูงสุดของความต้องการถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ไปจนกว่าจะถึงปี 2030 ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการเติบโตของรถยนต์ไฟฟ้า รายงานระบุว่าโลกของเรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคแห่งไฟฟ้าที่จะมีการพึ่งพาแหล่งพลังงานสะอาดมากขึ้นเรื่อยๆ นำโดยพลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้รับความนิยมอย่างโดดเด่นที่สุด ตามมาด้วยพลังงานลม และพลังงานนิวเคลียร์ โดยในช่วงห้าปีที่ผ่านมา กำลังการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นสี่เท่าเป็น 425 กิกะวัตต์ต่อปี และคาดว่าพลังงานแสงอาทิตย์จะกลายเป็นส่วนที่สำคัญมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ในสัดส่วนของพลังงานโลก อย่างไรก็ตาม เดฟ โจนส์ กรรมการบริหารของ Ember ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยด้านพลังงาน กล่าวว่า การเติบโตอย่างรวดเร็วของพลังงานหมุนเวียนไม่ได้หมายความว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะลดลงตามไปด้วย เพราะการปล่อนคาร์บอนฯ จะลดลงก็ต่อเมื่อมีทั่วโลกพร้อมใจกันที่จะไม่ใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลืองรายงานดังกล่าวยังระบุให้จีนเป็นผู้นำในการผลิตพลังงานหมุนเวียน และยังเป็นพลังขับเคลื่อนในการผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างต่อเนื่อง รวมถึงถ่านหินอีกด้วย ส่วนประเทศไทย ถูกระบุให้เป็นผู้นำระดับโลกในด้านเทคโนโลยีสะอาด รวมถึงพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ และพลังงานนิวเคลียร์ แต่ในช่วงห้าปีที่ผ่านมาก็พบว่ามีพลังงานจากถ่านหินเพิ่มขึ้นมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ และก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้น 40 เปอร์เซ็นต์ เช่นกัน