วงถกปมค่าไฟแพงเดือด นักวิชาการอัดวางแผนระบบพลังงานผิดพลาด
ตัวแทนภาคการเมือง จี้รัฐบาลทบทวบแผน PDP 2024 เอื้อธุรกิจภาคเอกชน สร้างภาระประชาชนแบกค่าไฟแพง นักวิชาการแนะแก้โครงสร้างค่าไฟให้เกิดความเป็นธรรม
องค์กรส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรมและต่อต้านการผูกขาด Fair Competition & Anti-Monopoly Organization จัดการเสวนาหัวข้อ “สาเหตุไฟฟ้าแพง ประชาชนเดือดร้อนเพราะใคร?” เมื่อ4กันยาน2567 ที่โรงแรม เอส 31 ห้อง Ballroom 2 ชั้น5 ระหว่างเวลา 13.30 -17.00 น. โดยการสัมนาแบ่งออกเป็น2ช่วง
ช่วงแรก ดร.เดชรัต สุขกำเนิด ตัวแทนพรรคประชาชน รศ.ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ ตัวแทนสภาองค์กรของผู้บริโภค นายรณกาจ ชินสำราญ นักวิชาการด้านไฟฟ้า และนายรพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์ หัวหน้าทีมวิจัย Climate Finance Network Thailand ร่วมแชร์ประสบการณ์ค่าไฟแพงบนเวทีเสวนา
ก็หวังว่ารัฐบาลชุดใหม่จะมีการทบทวนแผน PDP 2024: “แผนไฟฟ้าแห่งชาติ” ที่อยู่ระหว่างการยกร่างยังไม่ประกาศใช้
กฟผ.ก็เป็นผู้แบกรับหนี้เหล่านี้ไป ท้ายสุดทุกวันนี้ก็ยังจ่ายหนี้ไม่หมดก็เป็นปัญหาเฉพาะส่วนบนผิวน้ำ ถ้ามองลงมาข้างใต้ เรามีโรงไฟฟ้าล้นเกิน โครงสร้างราคาก๊าซที่ยังมีปัญหาอยู่ขณะเดียวกันการพยากรณ์ใช้ไฟฟ้าสูงเกินแผน PDP ที่ยังผิดพลาดล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่ทําให้ค่าไฟฟ้าของเราแพง
แทนที่จะเอามาใช้ในภาคการผลิตของไฟฟ้าเพื่อให้ประชาชนมีกําไรจากการที่เราใช้ค่าไฟลดลง
หรือไม่ที่จะแก้ปัญหานี้ให้เป็นรูปธรรมจริง ๆ
ชณะนายรพีพัฒน์ กล่าวว่า วันนี้เราเจอกับค่าไฟแพงแล้ว แพงอีก และแพงต่อ ที่แปลกใจก็คือเข้าใจว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเป็นคนผลิตแต่ปรากฎว่าเป็นเอกชนผลิตมากกว่าก็ควรจะเปลี่ยนชื่อเป็นการไฟฟ้าฝ่ายจัดซื้อแทนเพราะว่ากว่า 70 เปอร์เซนต์มาจากเอกชน หรือพีพีเอเป็นความลับทางการค้าทั้งที่เราจ่ายค่าไฟแต่ไม่ไม่สามารถเลือกได้อยากซื้อไฟกับใคร
โชคดีที่คู่สัญญาเขาเป็นเอกชนรายใหญ่ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ก็เลยพอจะรู้บ้าง
ผลตอบแทนผู้ถือหุ้นให้ทุกบาทโดยที่ไม่ต้องจ่ายไฟฟ้าแปลเป็นไทยง่ายง่ายว่าแค่พยากรณ์ความไฟฟ้าต้องการสูงสูงไปเท่าไหร่ไม่เป็นไรเพราะประชาชนเป็นคนจ่าย
คําว่าเชื้อเพลิงที่มันแพงที่มันผันผวนถ้าเราไปดูโครงสร้างในปัจจุบันใช้พลังงานประมาณหกสิบกว่าเปอร์เซ็นต์จากก๊าซธรรมชาติและอีกยี่สิบเปอร์เซ็นต์มาจากถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติแค่ครึ่งเดียวเท่านั้นที่มาจากอ่าวไทยที่เหลือสิบเปอร์เซ็นต์มาจากพม่าอีกประมาณสามสิบสี่สิบเปอร์เซ็นต์ต้องซื้อเป็นแอลเอ็นจี
ต้องนําเข้าจากต่างประเทศและมีความผันผวนเป็นทุนเดิมอยู่แล้วถูกพาสทรูมาที่บิลค่าไฟของเราทุกคน
บทเรียนอย่างหนึ่งก็คือว่า ธุรกิจโรงไฟฟ้าเป็นธุรกิจที่น่าลงทุน แต่ว่าเราก็ต้องยอมรับกันไปแพงอีกและในอนาคตจะอาจจะแพงขึ้นอีกแพงเพราะว่าเรามุ่งมั่นอยากจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังถือว่าล่าช้าที่สุดในอาเซียน
รัฐบาลมีแผนว่าจะมีการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตรงนี้เป็นต้นทุนมหาศาลแต่ว่ายังไม่มีกลไกทางการเงินที่รองรับรัฐบาลมีแผนบอกว่าจะใช้แต่ยังไม่มีบอกว่าใครจะเป็นคนจ่าย กลับมาคําถามเดิม ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นตรงนี้ เอกชนจ่ายรัฐบาลจ่ายหรือสุดท้ายจะถูกผลักมาที่ผู้บริโภค