หน้าแรก ข่าวสารพลังงาน “พีระพันธุ์” ลั่นประมูลซื้อไฟฟ้า 3,600 เมกฯ โปร่งใส ยันไม่มีนายทุนหนุนหลัง

“พีระพันธุ์” ลั่นประมูลซื้อไฟฟ้า 3,600 เมกฯ โปร่งใส ยันไม่มีนายทุนหนุนหลัง

"พีระพันธุ์" ลั่นประมูลซื้อไฟฟ้า 3,600 เมกฯ โปร่งใส ยันไม่มีนายทุนหนุนหลัง

          หลังเกิดคำถามกรณีคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานจะมีการเปิดประมูลรับซื้อพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนรูปแบบ FIT

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยในการตอบกระทู้ถามสดการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เกี่ยวกับกรณีที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะมีการเปิดประมูลเกี่ยวกับการรับซื้อพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน รูปแบบ Feed-in Tariff จำนวนประมาณ 3,600 เมกะวัตต์ โดยยืนยัน ว่า ตนและข้าราชการระดับสูงของกระทรวงพลังงานไม่เห็นด้วยกับการกำหนดหลักเกณฑ์ที่มีความเสี่ยงต่อการถูกมองว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ ทั้งนี้ โครงการรับซื้อพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนรูปแบบ Feed-in Tariff (FIT) จำนวนประมาณ 3,600 เมกะวัตต์นั้น เป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการรับซื้อพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนจำนวนประมาณ 5,200 เมกะวัตต์ โดยในโครงการหลัง 3,600 เมกะวัตต์นี้ กกพ.
จะแบ่งการรับซื้อหรือการประมูลออกเป็น 2 โครงการย่อย คือ โครงการรับซื้อไฟฟ้าขนาดประมาณ 2,100 เมกะวัตต์ และโครงการรับซื้อไฟฟ้าขนาดประมาณ 1,500 เมกะวัตต์

สำหรับโครงการแรกที่รับซื้อไฟฟ้าประมาณ 2,100 เมกกะวัตต์นั้น ปัจจุบัน กกพ. กำหนดให้สิทธิ์ผู้ที่เคยเข้าประมูลในโครงการ 5,200 เมกะวัตต์ แต่ไม่ชนะการประมูลเป็นผู้มีสิทธิ์ยื่นประมูล แต่อยู่ในขั้นตอนเตรียมการยังไม่มีการประมูลเกิดขึ้น ซึ่งกระทรวงพลังงานไม่เห็นด้วยและเคยนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) แล้ว แต่น่าจะเกิดความผิดพลาดจึงทำให้เกิดการกำหนดหลักเกณฑ์ที่ต่างไปจากนโยบาย ซึ่งได้สั่งการให้แก้ไขไปแล้วและกำลังจะมีการประชุม กบง. เพื่อแก้ไขในเรื่องดังกล่าวนี้ อย่างไรก็ดี กกพ. ที่เป็นผู้ดำเนินการนั้นเป็นองค์กรอิสระ
มีสถานะคล้ายกับ กสทช. กระทรวงพลังงานไม่มีอำนาจบังคับบัญชา กล่าวโดยง่ายคือไม่สามารถไปสั่งได้ แต่ก็ได้ใช้อำนาจตามที่มีอยู่โดยทำหนังสือทักท้วงพร้อมกับขอให้ทบทวนโครงการไปยัง กกพ. แล้ว โดยเบื้องต้นได้รับการแจ้งว่าที่มาที่ไปทำให้เกิดข้อผิดพลาดดังกล่าว เกิดจากความผิดพลาดในการทำมติที่ประชุมซึ่งจะได้ดำเนินการแก้ไขต่อไป และเมื่อมีการทบทวนในเรื่องนี้ให้รอบคอบและถูกต้องแล้ว ก็จะรายงานไปยังคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือ กพช. ต่อไป นายพีระพันธุ์ กล่าวอีกว่า กระบวนการทั้งหมดคาดว่าจะดำเนินการแก้ไขแล้วเสร็จในระยะเวลา 1 เดือน โดยได้มีการกำกับ ติดตามอย่างใกล้ชิดตลอดมา ด้านกรณีมีการกลาวว่าการรับซื้อไฟฟ้านั้น การรับซื้อพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนดังกล่าว แบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามการผลิต ประเภทแรกคือส่วนที่ผลิตจากแสงแดดมีการรับซื้อที่ 2.16 บาทต่อหน่วย และประเภทที่ผลิตจากพลังงานลมมีการรับซื้อที่ 3.10 บาทต่อหน่วย ซึ่งทั้ง 2 ส่วนไม่ได้มีราคาสูงกว่าการรับซื้อเดิม
ดังนั้นยืนยันว่าการรับซื้อไฟฟ้าในครั้งนี้ไม่ได้แพงเกินจริงแต่อย่างใด

แชร์โพสต์ :

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

Scroll to Top